วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ต้มยำ



ต้มยำ

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/88943.html
ต้มยำ (ลาวຕົ້ມຍຳ) เป็นซุปไทยที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ต้มยำเป็นอาหารที่รู้จักในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย เช่น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ รวมถึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คำว่า “ต้มยำ” มาจากคำภาษาไทย 2 คำ คือ “ต้ม” และ “ยำ” คำว่า “ต้ม” หมายถึง กิริยาเอาของเหลวใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือสุก ขณะที่ “ยำ” หมายถึงอาหารลาวและไทยประเภทที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ดังนั้น “ต้มยำ” คือซุปลาวและไทยที่มีความเผ็ดร้อนและเปรี้ยว อันที่จริงคุณลักษณะของต้มยำมาจากความแตกต่างระหว่างความเผ็ดร้อนและความเปรี้ยวและกลิ่นหอมของสมุนไพรในน้ำแกง ที่สำคัญน้ำแกงนั้นประกอบด้วย น้ำต้มกระดูกและเครื่องปรุงส่วนผสมสดได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า น้ำมะนาว น้ำปลาและพริก
ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ชื่อต้มยำ ถูกใช้เรียกน้ำแกงประเภทต่าง ๆ ที่เผ็ดร้อน ซึ่งแตกต่างจากน้ำแกงต้มยำของลาวและไทยดั้งเดิม ทำให้ผู้คนสับสนจากความแตกต่างนี้

ประเภท

ต้มยำเป็นอาหารพื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคยดี เพราะมีให้รับประทานทุกภาคและเป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างชาติด้วย หนึ่งในเมนูต้มยำที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือต้มยำกุ้ง ต้มยำเป็นอาหารที่ครบรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวานเล็กน้อย
เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูป ทำจากการบดส่วนประกอบของสมุนไพรเครื่องต้มยำ นำไปผัดในน้ำมันเติมด้วยเครื่องปรุงรสและอื่นที่ช่วยถนอมอาหาร เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูปจะบรรจุขวดหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งขายทั่วโลก เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูปจะมีรสชาดต่างจากการปรุงด้วยเครื่องปรุงสมุนไพรสด ทั้งนี้มักจะเติมเนื้อสด เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมูและกุ้ง เป็นต้น
  • ต้มยำกุ้ง ซึ่งมีกุ้งเป็นส่วนผสมหลัก
  • ต้มยำปลา น้ำแกงใสสูตรโบราณรับประทานกับข้าวสวย เป็นต้มยำที่นิยมแพร่หลายก่อนที่นักท่องเที่ยวนิยมมาประเทศไทย ปลาสดเป็นที่หาง่ายมีอยู่ทั่วไปในแม่น้ำของทุกภาคลำคลอง บึงรวมทั้งจากทะเล โดยปกติปลาสดเนื้อจะไม่แตกยุ่ยในน้ำเดือดจึงเป็นที่นิยมนำมาทำ
  • ต้มยำไก่ เป็นการทำจากไก่
  • ต้มยำทะเล เป็นการต้มน้ำแกงจากอาหารทะเลรวมได้แก่ กุ้ง ปลาหมีก หอยและเนื้อปลา
  • ต้มยำน้ำข้น ส่วนใหญ่จะทำด้วยกุ้งเป็นส่วนประกอบหลัก เติมนมสดหรือน้ำกะทิเล็กน้อยและพริกแห้งลงในน้ำแกงเป็นขั้นสุดท้าย การดัดแปลงนี้ไม่ทำให้สับสนกับต้มข่าไก่ ซึ่งมีข่าเป็นส่วนประกอบนำของน้ำแกงที่ใส่น้ำกะทิ
  • ต้มยำกุ้งมะพร้าวอ่อนน้ำข้น เป็นแบบที่มีกุ้งและเนื้อสดและน้ำกะทิ
  • ต้มยำขาหมู ทำจากข้อนิ้วหมู ซึ่งต้องใช้เวลาในการเคี่ยวนาน ในรสยอดนิยมมักจะเติมเห็ด โรยหน้าด้วยผักชี ในบางครั้งจะเติมน้ำพริกเผาเพื่อให้น้ำแกงมีสีสัน เป็นสีส้มและทำให้พริกมีรสชาดจัดขึ้น สูตรต้มยำของลาวจะใส่ข้าวคั่วในน้ำแกงด้วย
ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่นๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์หรือผัก-สมุนไพรก็ได้
  • การใส่นม หรือกะทิลงไปนั้น บางที่ก็นิยมใส่เพื่อให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น มักจะเรียกว่า ต้มยำน้ำข้น
  • ต้มยำกุ้ง นั้น นิยมใส่มันกุ้งลงไปเพื่อเพิ่มกลิ่นกุ้ง
  • ต้มยำหัวปลา มักจะไม่นิยมใส่นม
  • ถ้าเป็นต้มโคล้งจะใส่น้ำมะขามเปียกแทนน้ำมะนาว และจะใส่หอมแดงสดลงไปด้วย

       ส่วนประกอบ

ผัก ต้มยำประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว หรือ บางเมนู อาจจะมีใบกะเพรา ผักชีฝรั่งและโหระพาร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมี เห็ด ต่าง ๆ รวมทั้ง มะเขือเทศ ผักชี
เนื้อสัตว์ ต้มยำปรุงจากเนื้อสัตว์ ต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้ง หมู ไก่ ปลา กุ้ง หรือเนื้อวัว ฯลฯ
เครื่องปรุงรส มะนาว น้ำปลา น้ำตาล น้ำพริกเผา

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น